หน้าแรก เว็บไซต์คณะทันตแพทยศาสตร์

เกี่ยวกับภาควิชา


หน้าหลัก
แนะนำสาขาวิชาทันตกรรมชุมชน
แนะนำสาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป
กระบวนวิชาที่เปิดสอน
  (สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน)
กระบวนวิชาที่ร่วมสอน
  (สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน)
กระบวนวิชาที่เปิดสอน
  (สาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป)
บุคลากร
งานวิจัย

เว็บภาควิชาเดิม

หลักสูตรสาขาวิชาทันตกรรมชุมชน

ปริญญาตรี

ปริญญาโท

ปริญญาเอก


การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษาชั้นปีที่ 6

เกี่ยวกับ DCOM 603
(กระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมชุมชน 2)
Course Syllabus DCOM 603
ปฏิทินการศึกษา DCOM 603
ข่าวประชาสัมพันธ์
กิจกรรมอื่นๆ

หลักสูตรสาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
• ปริญญาเอก
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตร วุฒิบัตร (ทันตกรรมทั่วไป)

การฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน
ระดับวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมทั่วไป

E-learning

บทเรียนออนไลน์
บทเรียนต่างๆ ของภาควิชา
ทันตกรรมครอบครัวและชุมชน

DPPR483 ทันตกรรมส่งเสริมและป้องกัน
• DPPR 483
ชีวีมีสุขทันตกรรมพร้อมมูลช่วยได้
ชีวีมีสุขทันตกรรมพร้อมมูลช่วยได้

Doctor/Patient Relationship


Warning: fopen(counter.txt) [function.fopen]: failed to open stream: Permission denied in /var/www/commun/counter.php on line 28

Warning: fputs(): supplied argument is not a valid stream resource in /var/www/commun/counter.php on line 29

Warning: fclose(): supplied argument is not a valid stream resource in /var/www/commun/counter.php on line 30
006452

visitor since 
May 26th,2006

COMM_เกี่ยวกับ DCOM 603


บันทึกเมื่อวันที่ 09 กันยายน 2558 ชม 5449 ครั้ง  

เกี่ยวกับ
DCOM 603

 Course Syllabus
DCOM 603

ปฏิทินการศึกษา
DCOM 603

ข่าวประชาสัมพันธ์

กิจกรรมอื่นๆ

 ทันตกรรมชุมชนปฎิบัติ DCOP 602
  
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญาเข้ารับราชการ
กระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมชุมชน 2 (DCOM 603)
สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
ความเป็นมาและความสำคัญ
 
 
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดำเนินการ ได้ให้นักศึกษาที่เข้า
 
ศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ทุกสถาบันในประเทศไทย ทำสัญญาเข้ารับราชการเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยออกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเป็นเวลา 3 ปี และเริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาปี 2526 เป็นต้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงของนักศึกษาหลังจบการศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 โดยจัดให้มีกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมชุมชน 2 (DCOM 603) จำนวน 3 หน่วยกิตขึ้นสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 6 ทั้งนี้ กระบวนวิชาดังกล่าวมีเนื้อหาให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชนด้วยการประยุกต์วิชาพื้นฐานทางสาธารณสุขและทันตสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของประชาชน โดยเน้นการศึกษางานทันตสาธารณสุขในชุมชนด้วยกลวิธีการศึกษาแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน
 
 
จากการสรุปประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 เป็นต้นมา
 
ทางคณะทันตแพทยศาสตร์ได้พยายามพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติงานให้ก้าวหน้ากว่าเดิมโดยได้ดำเนินการขยายรูปแบบการทำงานภายใต้กลวิธีการทำงานอย่างมีส่วนร่วมโดยแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน เพื่อทำให้การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาเป็นการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพร่วมกันระหว่างบุคคล 4 กลุ่ม คือ นักศึกษา อาจารย์พิเศษภาคสนาม ผู้นำชุมชนในหมู่บ้านที่นักศึกษาฝึกงาน และอาจารย์สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน พบว่ามีความสำเร็จอย่างมาก และได้รับข้อเสนอแนะให้คงรูปแบบการทำงานที่มีอาจารย์ของภาควิชาฯ อยู่ร่วมควบคุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมดังกล่าวตลอดระยะเวลาการฝึกงาน เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพร่วมกันอย่างเต็มที่ ของทั้งนักศึกษาทันตแพทย์ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ฝึกงาน ทันตบุคลากรที่รับนักศึกษาฝึกงานและคณาจารย์ภาควิชาฯ
 
 
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา คณะทันตแพทยศาสตร์ได้ผลักดันให้รูปแบบการฝึก
 
ปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมผสมผสานไปกับการใช้แนวความคิดเรื่องการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่อย่างเต็มตัว ภายหลังจากที่ได้วางแนวทางพื้นฐานไว้บ้างแล้วในปีก่อนหน้านั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ได้นำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ไปปฏิบัติจริง ซึ่งผลการฝึกปฏิบัติงานที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
 
 
และจากการประชุมเพื่อประเมินผลกระบวนการจัดฝึกปฏิบัติงานในรอบหลายปีที่ผ่านมา
 
พบว่าทิศทางของเนื้อหาของกระบวนวิชาพุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม กระแสของการปฏิรูปสุขภาพยังคงเป็นกระแสที่แรงและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้กระบวนการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามต้องมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดตามการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความพยายามในการพูดถึง การเพิ่มมิติของความเป็นมนุษย์ในบุคลากรสาธารณสุขมากขึ้น จากเดิมที่มุ่งเน้นการให้บริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ มีความครอบคลุมและมีความทันสมัย นอกจากนั้นไม่ว่าการให้ความสำคัญกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัว (family medicine) การปรับหน่วยบริการปฐมภูมิ (primary care unit) ที่เน้นการบริการประชาชนในลักษณะ   "ใกล้บ้าน ใกล้ใจ" การชูธงเรื่องของการสร้างสุขภาพ ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ซึ่งเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5  ปีที่ผ่านมาก็ยังคงเป็นกระแสที่มีการเรียกร้องและขานรับกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กระบวนการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษาในกระบวนวิชาฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมชุมชน 2 จึงมีการปรับเปลี่ยนในรายละเอียดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและการคาดการณ์ในอนาคต
วัตถุประสงค์หลัก
 
เมื่อนักศึกษาได้ผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วนักศึกษาสามารถ
 
1.
ร่วมระบุและแก้ไขปัญหาสุขภาพและทันตสุขภาพของชุมชน โดยอาศัยการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
 
2.
ปฏิบัติงานเป็นกลุ่มในทีมงานสุขภาพได้ ตลอดจนเข้ากับสังคมที่ทำงานอยู่ได้อย่างเหมาะสม
 
3.
ใช้หลักของการส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในชุมชนได้อย่างเหมาะสม
 
4.
มีความเข้าใจและสามารถอธิบายการบริหารงานทันตสาธารณสุขในหน่วยงานทันตกรรมระดับจังหวัดและอำเภอได้อย่างชัดเจน
วัตถุประสงค์ในการฝึกปฏิบัติงานในหน่วยงานสาธารณสุขระดับจังหวัด
 
1.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เวลาศึกษาประมาณ 3 วัน
 
 
วัตถุประสงค์
 
 
 -
ศึกษาโครงสร้างและระบบบริหารงานสาธารณสุขระดับจังหวัด
 
 
 -
ศึกษาระบบบริหารทันตสาธารณสุขระดับจังหวัด
 
2.
โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป เวลาศึกษาไม่เกิน 2 วัน
 
 
วัตถุประสงค์
 
 
 -
ศึกษาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป
 
 
 -
ศึกษาการบริหารจัดการของกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล
 
 
 -
ศึกษาระบบงานเวชกรรมสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงาน UC
 
3.
โรงพยาบาลชุมชน เวลาฝึกปฏิบัติงานประมาณ 5 สัปดาห์
 
 
วัตถุประสงค์
 
 
 -
ศึกษาโครงสร้างและระบบบริหารของโรงพยาบาลชุมชน
 
 
 -
ศึกษาระบบประกันคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล เช่น HA ISO PSO
 
 
 -
ศึกษาระบบบริหารงานในฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน
(รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานบุคคลด้วย)
 
 
 -
ฝึกปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในสถานบริการและชุมชน
 
 
 -
ศึกษารูปแบบการทำงานในแนววัฒนธรรมชุมชนเพื่อวางแผนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในระดับชุมชน ครอบครัว หรือบุคคล
ระยะเวลาที่ฝึกปฏิบัติงาน
 
ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม รวมระยะเวลาประมาณ 7 สัปดาห์
ลักษณะการปฏิบัติงาน
 
1.
นักศึกษาจะถูกแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน  เพื่อแยกย้ายปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน
ต่าง ๆ ประมาณ 25-27 โรงพยาบาล
 
2.
การปฏิบัติงานในช่วงประมาณ 7 สัปดาห์ (ประมาณ 48 วัน) แบ่งเป็น
 
 
2.1
การปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนออกฝึกภาคสนาม
 
 
 
 
สถานที่  คณะทันตแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
 
 
ระยะเวลา  4-5 วัน
 
 
2.2
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษาในพื้นที่
 
 
 
 
สถานที่  หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ฝึกงาน
 
 
 
 
ระยะเวลา  33-39 วัน
 
 
2.3
การประชุมสัมมนาเพื่อสรุปผลการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม
 
 
 
 
สถานที่  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
 
 
ระยะเวลา  4-5 วัน
 
3.
การควบคุมการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามโดยอาจารย์ประจำจากคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 7-8 ทีมๆ ละ 2 คน โดยร่วมควบคุมการฝึกปฏิบัติกับอาจารย์พิเศษภาคสนามตลอดระยะเวลาการฝึกงานของนักศึกษา
 
4.
การนิเทศงานโดยอาจารย์นิเทศ ซึ่งจะนิเทศช่วงกึ่งกลางของการฝึกงาน 1 ครั้ง ครั้งละ 3-4 วัน โดยอาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์พิเศษภาคสนามที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์นิเทศ ทั้งนี้อาจนิเทศร่วมกันกับอาจารย์นิเทศสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือคณะทำงานที่ทางจังหวัดมอบหมายให้ดำเนินการ
 
5.
นักศึกษาปฏิบัติงานทุกวัน ไม่เว้นวันเสาร์และอาทิตย์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
 
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
-
คณะกรรมการโครงการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญา
 
 
-
งานบริการการศึกษา บริหารงานวิจัย และบริการวิชาการ
 
 
-
สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน
อาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่
 
1.
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
 
2
รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน
 
3.
คณะกรรมการโครงการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาทันตแพทย์ผู้ทำสัญญา
 
4.
อาจารย์ประจำสาขาวิชาทันตกรรมชุมชน
อาจารย์พิเศษภาคสนาม ได้แก่
 
1.
ทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
 
2.
หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน
 
3.
ทันตแพทย์ในกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลชุมชน
 
4.
บุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษา
อาจารย์นิเทศ ได้แก่
 
 
อาจารย์จากสถาบันการศึกษาจากหน่วยงานอื่นๆ อาทิเช่น จากคณะสังคมศาสตร์
 
คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งทันตแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์พิเศษภาคสนามร่วมนิเทศงานกับคณาจารย์ของภาควิชาทันตกรรมชุมชน
การประเมินผล
 
 
อาจารย์นิเทศและอาจารย์พิเศษภาคสนามทุกคนเป็นผู้ประเมินผลนักศึกษาตามแบบ
 
ประเมินผลของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติแล้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 
1.
นักศึกษามีทัศนคติที่ดีและมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน
 
2.
นักศึกษามีประสบการณ์ในการศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและทันตสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือทันตสุขภาพของชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน
 
3.
นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของชุมชน มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพและทันตสุขภาพที่พบในชุมชน
งบประมาณ
 
 
งบประมาณแผ่นดินภายใต้แผนงานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
 
งานจัดการศึกษาสาขาทันตแพทยศาสตร์ หมวดเงินอุดหนุน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลับไปด้านบนของหน้ากลับไปด้านบนของหน้า


สาขาวิชาทันตกรรมชุมชน ภาควิชาทันตกรรมครอบครัวและชุมชน
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
โทรศัพท์ 0-53-944-468  โทรสาร 0-53-944-483 และ 0-53-222-844
ติดต่อ คุณศันสนีย์ เรืองสอน ผู้ประสานงานฯ 
โทร. 084 040 7869
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
Copyright @ 2006. Faculty of Dentistry, Chiang Mai University.