ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ค่ะ   โครงการประชาสัมพันธ์ โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   หน้าแรก รู้จักโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข มีโครงการอะไรบ้าง ภาพกิจกรรมสร้างสุข Webmaster

   
   

   

   

 

ล็อกอิน 

Login :  
Password :  
   
 

 
 

ค่ายอาสาพัฒนาชนบท  
 
ชื่อโครงการ  ค่ายอาสาพัฒนาชนบท
ผู้รับผิดชอบ  นทพ. ปิยะพงศ์ ปวงคำ ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท สโมสรนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ. ที่ปรึกษา   อ.ทพญ.ดร.ปิยะนุช เพิ่มพานิช
ช่วงเวลาดำเนินการ  มกราคม 2549 – มีนาคม 2549
งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายฯ  26,470 บาท
 
 ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
                  เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมรับว่าประเทศชาติยังมีชุมชนชนบทอีกมากที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ขาดการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และโดยเฉพาะสุขอนามัยพื้นฐานของคนในชุมชนที่ยังไม่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ชุมชนชนบทดังกล่าวยังมีประชากรเด็กและเยาวชนอีกมากที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตยังขาดโอกาสในการศึกษา ขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต และขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองและครอบครัวอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะสุขภาพในช่องปากที่ประชาชนมักจะไม่เห็นความสำคัญและไม่สนใจดูแลรักษา จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในช่องปากตามมาอย่างมาก ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลในแต่ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย และปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
                  ด้วยเหตุนี้ ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท จึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการป้องกัน โดยเน้นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขอนามัยพื้นฐานและทันตสุขภาพโดยคำนึงถึงสิ่งที่เป็นปัญหาชองชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษากับชาวบ้านและระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมคุณธรรมทางด้านจิตใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เช่น การรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความสามัคคี ความรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นต้น และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างคิดสิ่งที่สร้างสรรค์และทำให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
 
 
 กลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ /สร้างสุข
1.       การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เช่น การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ
2.       สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.       สอดแทรกการสร้างเสริมสุขภาพในกิจกรรมเดิมที่มีอยู่
4.       การสนับสนุนสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
 
 
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมินผล
1. ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขอนามัยพื้นฐานและทันตสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน
 
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนตามความสามารถและทำงานร่วมกับชาวบ้านได้
 
3. นักศึกษาได้พัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะการให้ความรู้แก่ชุมชน
4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง และและสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากชมรมอื่นๆ เช่น ชมรมถ่ายภาพ ชมรมกีฬา ชมรมดนตรี เป็นต้น ร่วมทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อเป็นการบูรณาการกิจกรรม
6. เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
 
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขอนามัยพื้นฐานและทันตสุขภาพ     
              
2. มีการพัฒนา ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อเอื้อต่อการดูแลรักษาสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้การประชุมร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชาวบ้าน                                        
3.นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
4.นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ตนเองถนัดให้กับเพื่อนในกลุ่มและสามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมในค่ายได้
4.นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบไหนที่เอื้อ/ ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
1. สอบถามชาวบ้านหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
 
2. สอบถามนักศึกษาถึงสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
 
3. ให้นักศึกษากรอกแบบสอบถามหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
4. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและชาวบ้านระหว่างร่วมกิจกรรม
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
2. นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
4. นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
5. นักศึกษามีจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์และรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่
6. นักศึกษามีทักษะในการให้ความรู้แก่ชุมชน
7. นักศึกษาจากชมรมต่างๆสามารถเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน
8. นักศึกษารับรู้ถึงการดำเนินชีวิตของชาวบ้านและสามารถรับทราบปัญหาสาธารณสุขและให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้
ความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการ
1. ผลักดันให้มีการจัดค่ายขึ้นต่อเนื่องประจำทุกปี
2. ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. ส่งเสริมให้บุคลากร และนักศึกษาสามารถนำความรู้ทางทันตสาธารณสุขไปประยุกต์ใช้
 
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์โครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท  
 
ยังไม่มีข่าวประชาสัมพันธ์
 

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด

 
 
บันทึกความทรงจำโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท  
 
ยังไม่มีบันทึกความทรงจำ
 

บันทึกความทรงจำทั้งหมด

 
 
ภาพกิจกรรมโครงการค่ายอาสาพัฒนาชนบท  
 
ยังไม่มี ภาพกิจกรรม
 

ภาพกิจกรรมทั้งหมด

 
 

โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข สำนักงานคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคาร 7 โทร 053-944440-1