หน้าแรก เว็บไซต์คณะทันตแพทยศาสตร์

เกี่ยวกับภาควิชา

หน้าหลัก
แนะนำภาควิชา
ประวัติภาควิชา
กระบวนวิชาที่เปิดสอนสาขาทันตกรรมจัดฟัน
กระบวนวิชาที่เปิดสอนสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก
บุคลากร
งานวิจัย

หลักสูตร สาขาทันตกรรมจัดฟัน

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
• วุฒิบัตร
ปริญญาเอก

หลักสูตร สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก

ปริญญาตรี
ประกาศนียบัตร
• ปริญญาโท

 

E-learning

บทเรียนออนไลน์
บทเรียนต่างๆ ของภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมป้องกัน
  สำหรับเด็ก

ภาพโปสเตอร์ ผลงานนักศึกษา ปี5

ตำราการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เล่่ม 1 และ 2

 


Warning: fopen(counter.txt) [function.fopen]: failed to open stream: Permission denied in /var/www/ortho/counter.php on line 28

Warning: fputs(): supplied argument is not a valid stream resource in /var/www/ortho/counter.php on line 29

Warning: fclose(): supplied argument is not a valid stream resource in /var/www/ortho/counter.php on line 30
009127

visitor since 
May 26th,2006

DPED414754


บันทึกเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 ชม 1801 ครั้ง  

การประมวลการสอนรายวิชาทันตกรรมคลินิกสำหรับเด็กพิเศษ 2 
DPED 414754                                                        2 (0/0-2/6)

เงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อน : ผ่านกระบวนวิชา 414753

สถานภาพกระบวนวิชา : วิชาการฝึกปฏิบัติงานในคลินิก

การเปิดสอน : สอนในภาคการศึกษาที่ 1 เป็นการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกสัปดาห์ละ
6 ชั่วโมง โดยจัดให้ฝึกปฏิบัติ 2 คาบต่อสัปดาในวันจันทร์ – ศุกร์

คณาจารย์ผู้สอน
1. ผศ.ทพ.จิระสันติ์ ไพบูลย์เกษมสุทธิ
2. ผศ.ทพญ.ชมพูนุท คุณเลิศกิจ
3. ผศ.ทพญ.จุไรรัตน์ คุณะไชยโชติ
4. อ.ทพ.พีรนิธ กันตะบุตร
5. อ.ทพญ.ดร.วริศรา ศิริมหาราช
6. อ.ทพญ.ภาพิมล ชมพูอินไหว

ผู้รับผิดชอบกระบวนวิชา : ผศ.ทพญ.ชมพูนุท คุณเลิศกิจ

คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา : จัดให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้นในงานทันตกรรมสำหรับเด็กในเด็กกลุ่มพิเศษ
มีการรักษา ทันตกรรมโดยสมบูรณ์ การรักษาทางทันตกรรมอาจใช้วิธีการทำให้เด็กสงบโดยการใช้ยา และการรักษา
ภายใต้การดมยาสลบ พร้อมทั้งมีการนำเสนอรายงานผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักศึกษาสามารถให้การรักษาทางทันตกรรมให้แก่เด็กกลุ่มพิเศษ โดยการทำให้เด็กสงบ
โดยการใช้ยาและภายใต้การดมยาสลบได้อย่างเหมาะสม

           เนื้อหากระบวนวิชา                                                                     
                                          
จำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติงาน 
ฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมให้แก่เด็กกลุ่มพิเศษ ในงานต่อไปนี้
 
1. ตรวจ วินิจฉัย และวางแผนการรักษา 
10
2. ให้การรักษาทางทันตกรรมโดยวิธีปกติ หรือการทำให้เด็กสงบ 
20
โดยการใช้ยา และการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ 
 
3. ให้การรักษาทางทันตกรรมในงานต่อไปนี้ 
50
- บูรณะฟัน 
 
- รักษาโพรงประสาทฟัน 
 
- ผ่าตัดเล็กในช่องปาก 
 
4. ทันตกรรมป้องกันในคลินิก 
20
5. ให้การรักษาทางทันตกรรมในเด็กกลุ่มพิเศษโดยสมบูรณ์ 
30
6. นำเสนอรายงานผู้ป่วยเด็กกลุ่มพิเศษ 
10
          รวม
140



ลักษณะกิจกรรมการเรียนการสอน
– แสดงกิจกรรมการเรียนการสอนในภาพรวมตลอดภาคการศึกษา
- ให้การรักษาทางทันตกรรม, ให้ทันตกรรมป้องกันในคลินิก, ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเด็กกลุ่มพิเศษ
ในคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก ฝึกปฏิบัติงานโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำขณะปฏิบัติงานตามการนัด
หรือรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากสถานพยาบาลอื่น เด็กกลุ่มพิเศษได้แก่เด็กที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพ หรือผู้ป่วยที่มีความ
บกพร่องทางร่างกายหรือสติปัญญา ในกรณีที่สามารถให้การรักษาได้บนเก้าอี้ทำฟัน
- ให้การรักษาทางทันตกรรมแก่เด็กพิเศษภายใต้การดมยาสลบที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก
- นำเสนอรายงานผู้ป่วย
- จัดประสบการณ์จริงนอกคณะฯ โดยจัดให้ไปศึกษาดูการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กกลุ่มพิเศษของสถาบันราชนครินทร์
และการให้บริการทางทันตกรรมเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

การประเมินผลการเรียนการสอน
- มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในคลินิกโดยใช้การสังเกต สอบถามขณะปฏิบัติงาน การสอบถามความรู้ การแสดงออก
ทางบุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ จริยธรรมในการปฏิบัติงาน มีการประเมินทักษะและ คุณภาพ รวมทั้งปริมาณงาน และชนิดของงาน
การให้การรักษาทางทันตกรรม มีการประเมินจากรายงานความก้าวหน้าและการนำเสนอรายงานผู้ป่วย
- อาจารย์ผู้สอนทุกท่านจะร่วมให้คะแนน เพื่อประเมินผลปลายภาคการศึกษา โดยการนำคะแนนของอาจารย์ผู้สอนทุกท่านมาหาค่าเฉลี่ย
และวัดผลปลายภาคการศึกษาโดยมีเกณฑ์การให้เกรดดังนี้
A = 100-85 , B+ = 84-76
B = 75-70 , C+ = 69-66
C = 65-60 , D+ = 59-55
D = 54-50 , F = 49-0

แหล่งวิทยาการ
- ผู้ป่วยเด็กพิเศษ
- บันทึกประวัติผู้ป่วย
- ภาพถ่ายรังสี
- ภาพถ่ายในช่องปาก, และสไลด์
- รายงานผู้ป่วยจากวารสารทางวิชการทางทันตแพทย์
- ตำราทางวิชาการทางทันตแพทยศาสตร์
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
Copyright @ 2006. Faculty of Dentistry, Chiang Mai University.