โครงการช่วยเลิกบุหรี่
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
หน้าหลัก              เกี่ยวกับเรา              แนวทางการช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่             บุหรี่กับโรคในช่องปาก              เคล็ดลับการเลิกบุหรี่              ติดต่อเรา


โครงการช่วยเลิกบุหรี่
หน้าหลัก

ผู้ที่เข้ามารับบริการในคลินิกทันตกรรม มีทั้งผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้สูบบุหรี่ แต่สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ทันตแพทย์สามารถกระตุ้น หรือแนะนำให้เขาเลิกสูบบุหรี่ ประมาณ 3 ใน 4 คน ต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่อยู่แล้ว เพียงแต่เขาขาดกำลังใจ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเมื่อใด ด้วยวิธีใดเท่านั้น ดังนั้น ทันตบุคลากรซึ่งเป็นผู้รู้พิษภัยของบุหรี่ ที่มีผลต่อสุขภาพร่างกาย และสภาพช่องปาก จึงควรมีบทบาทที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย ให้เริ่มต้นที่จะลด หรือเลิกการสูบบุหรี่ และถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง นอกเหนือจากการรักษาตามปกติ

สำหรับวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยนั้น ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตั้งคำถาม ให้คำแนะนำ ร่วมมือ และติดตามผู้สูบบุหรี่ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยจะให้ความสนใจ และเชื่อถือในคำแนะนำของทันตแพทย์อยู่แล้ว ในระยะแรกๆ ทันตแพทย์อาจไม่คุ้นเคยเช่นเดียวกับ ที่เพิ่งกัดถอนฟัน แต่เมื่อฝึกสังเกตวิธีการต่างๆ ประกอบกับความตั้งใจจริง และมีความประสงค์แรงกล้า ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ก็ทำให้ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ป่วย ให้เลิกบุหรี่เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไปนัก สำหรับทันตแพทย์


พฤติกรรมการสูบบุหรี่
หากคิดจะช่วยผู้สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ เราควรจะรู้ และเข้าใจว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งมีทั้งปัจจัยทางด้านสังคม จิตวิทยา และผลทางเภสัชวิทยา เนื่องจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่มีลักษณที่ซับซ้อน เห็นได้จากการที่ผู้สูบบุหรี่ไม่ยอมเลิกบุหรี่ แม้จะรู้ถึงผลร้ายของบุหรี่ต่อสุขภาพก็ตาม การติดบุหรี่มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ นอกเหนือจากการติดทางกาย

การเลิกบุหรี่ เป็นนิสัยชนิดอัตโนมัติ
พฤติกรรมที่เป็นนิสัยแบบอัตโนมัตินี้ เป็นพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เช่น การสูบบุหรี่ระหว่างดื่มชา หรือกาแฟ สูบบุหรี่ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ขณะขับรถ สูบบุหรี่หลังอาหาร และกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานๆ ในลักษณะเช่นนี้ การสูบบุหรี่ กลายเป็นกิจกรรมที่ทำไห แบบไม่มีสติ ผู้สูบบุหรี่หลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ตนเองจุดบุหรี่สูบเมื่อไร

มุมมองทางด้านจิตวิทยา
การติดบุหรี่เป็นการติดทางอารมณ์ หลายคนใช้การสูบบุหรี่เป็นการจัดการ กับความเครียด ผู้หญิงที่พยายามเลิกบุหรี่ มักจะมีอารมณ์ก้าวร้าว ฉุนเฉียว เพราะแต่เดิมการสูบบุหรี่ เพื่อกดความรู้สึกไว้ ผู้ที่ติดบุหรี่หลายคนใช้การสูบบุหรี่ เป็นการพักจากงานประจำที่ทำอยู่ ดังนั้น จึงควรตระหนักถึงความรู้สึก ทั้งรัก และเกลียดต่อการติดบุหรี่ของผู้ที่ติบุหรี่ และ "ผลทั้งสองทาง" ของการใช้บุหรี่เป็นทั้งตัวกระตุ้น และผ่อนคลายอารมณ์ ในช่วงเวลาที่ต่างกันในวันหนึ่งๆ การจะช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเข้าใจ ถึงเหตุผลในการเริ่มสูบบุหรี่ การติดบุหรี่ ทำไมจึงอยากเลิกบุหรี่

ผลของบุหรี่ต่อสุขภาพร่างกาย

คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก
    31 พฤษภาคม 2548 “Health Professionals and Tobacco Control” ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่
    31 พฤษภาคม 2549 “Tobacco : Deadly in any form or disguise” บุหรี่ทุกชนิด นำชีวิตสู่ความตาย
    31 พฤษภาคม 2550 “100% Smoke-free Environment : Create and Enjoy” ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส
    31 พฤษภาคม 2551 “Tobacco Free – Youth” เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่
    31 พฤษภาคม 2552 “Tobacco Health Warning” บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย

หยุดการสูบบุหรี่ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น



โครงการช่วยเลิกบุหรี่
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์. 053–944463
www.dent.cmu.ac.th