HOME ข้อมูลคณะทันตแพทยศาสตร์ มช.

แนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

 · วัตถุประสงค์ · คุณสมบัติ · การจัดการศึกษา · การรับเข้าศึกษา · หลักสูตร/แผนการศึกษา · แนะนำภาควิชา
· บริการสำหรับนักศึกษา · ปฏิทินการศึกษา · ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ · จำนวนนักศึกษา · การวัดผล
· การประกอบอาชีพและศึกษาต่อ


  แนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ 
    
       เนื่องจากความขาดแคลนทันตแพทย์ที่ทำงานในชนบท ทางรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขจึงมีโครงการแก้ปัญหาการกระจายทันตแพทย์  โดยกำหนดให้นักศึกษาทันตแพทย์ตั้งแต่รหัส 26… เป็นต้นไป  ต้องทำสัญญาที่มีเงื่อนไขว่ารัฐบาลจะสนับสนุนค่าเครื่องมือและอุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการเรียนของนักศึกษา และเมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นทันตแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะต้องรับราชการและปฏิบัติงานในหน่วยงานของทางราชการตามที่ได้รับมอบ หมายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน  ระหว่างการปฏิบัติงานสามารถลาศึกษาต่อได้ในสาขาวิชาที่จำเป็น หลังจากปฏิบัติ งานครบ 3 ปีแล้วสามารถรับราชการต่อหรือลาออก เพื่อไปประกอบอาชีพอิสระก็ได้ เช่น รับราชการเป็นอาจารย์สอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา อัตราเงินเดือน แรกบรรจุ  15,850 บาท ,  รับราชการเป็นทันตแพทย์ประจำโรงพยาบาล / สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อัตราเงินเดือน แรกบรรจุ 10,190 บาท , รับราชการทหาร ทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ  สังกัดกระทรวงกลาโหม ,  ทำงานรัฐวิสาหกิจ ในโรงพยาบาลเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ (การเปิดคลินิกทันตกรรมของตนเอง) ฯลฯ

        นอกจากนี้ทันตแพทย์ที่รับราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจสามารถไปทำคลินิกในช่วงเวลาเย็น และวันเสาร์ –วันอาทิตย์  ก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มจากรายได้ประจำ และทันตแพทย์ยังสามารถกลับมาศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับปริญญาโท  ปริญญาเอก ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ถนัด หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากการศึกษาต่อเนื่องระยะสั้น รวมทั้งการประชุมวิชาการในประเทศ และการประชุมนานาชาติ

ข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2553 ชม 14337 ครั้ง