โรคเหงือกอักเสบเนื้อตายแบบเฉียบพลัน (ANUG) |
|
|
ผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบเนื้อตายแบบเฉียบพลันมากกว่าปกติ ทั้งๆ ที่ดูแลช่องปากตามมาตรฐานปกติ และเมื่อเป็นแล้ว อาการของโรคก็จะรุนแรงกว่าเดิม
|
|
มะเร็งช่องปาก |
|
|
ควันบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งโดยตรง ผู้ที่สูบบุหรี่ แต่ไม่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งช่องปากมากขึ้น 2-4 ท่าน แต่ถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากขึ้น ตั้งแต่ 6-15 เท่าของคนทั่วไป
|
|
ปฏิกิริยาต่อภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย |
|
|
บุหรี่ ทำให้เม็ดเลือดขาวบางประเภท ซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคลดลง และทำให้อัตราการทำลายเชื้อบางชนิดของร่างกายลดลง เช่น อัตราการทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus ลดลงจาก 3.1 ตัวต่อนาที เหลือเพียง 1.3 ตัวต่อนาที และยังพบปริมาณเชื้อโรคบางชนิดสะสมมากขึ้นด้วย
|
|
โรคปริทันต์ (Periodontitis) |
|
|
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญอย่างยิ่ง ในการเกิดโรคปริทันต์ อาการของโรคจะมีความรุนแรงกว่าในคนสูบบุหรี่ โดยผู้สูบบุหรี่มักจะเป็นโรคปริทันต์รุนแรง ที่รากฟันด้านเพดานปาก อาจมีหนอง หรือความผิดปกติอื่นๆ ได้มาก แม้จะไม่มีแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือหินปูนเลยก็ตาม
|
|
การหายของแผล (Wound Healing) |
|
|
การสูบบุหรี่ ทำให้แผลในช่องปากหายช้า รวมถึงการสมานแผล ภายหลังการรักษาทางทันตกรรม เช่น การถอนฟัน และการเกลารากฟัน เพราะควันบุหรี่ทำให้ปริมาณการไหลเวียนโลหิต และปริมาณสารเคมีที่สำคัญต่างๆ ในเลือดลดลง
|
|
การรับรส และกลิ่น |
|
|
การสูบบุหรี่ ทำให้ความสามารถในการรับรส และกลิ่นเลวลง นอกจากนั้น ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการมีกลิ่นปากอีกด้วย
|
|
ฟันผุ (Dental Caries) |
|
|
มีแนวโน้มว่า ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูญเสียฟันธรรมชาติสูงกว่าปกติ นอกจากนั้น ยังพบว่า ในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ ก็มีความสัมพันธ์กับการมีจำนวน ฟันผุสูงขึ้นด้วย
|
|