บันทึกเมื่อวันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2560 ชม 4 ครั้ง
แนวปฏิบัติสำหรับคณะทันตแพทยศาสตร์
1.ผู้ป่วยต้องชำระเงินสด ทันตแพทย์ออกใบรับรองแพทย์ แล้วนำไปเบิกจากบริษัทประกันเอง ตามวงเงิน
2.ในกรณีเกินวงเงิน พรบ. จึงจะสามารถใช้สิทธิจาก สิทธิของผู้ป่วยเช่น สิทธิบัตรทอง ได้
เอกสารที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ออกให้เพื่อนำไปประกอบการเบิกจากบริษัทประกัน
1. ใบเสร็จรับเงิน
2. ใบรับรองแพทย์
เอกสารประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาลของรถมีบริษัทประกันภัย
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วย
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขับขี่ สำเนาใบขับขี่ของผู้ขับขี่(ถ้ามี) (กรณีผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ขับขี่)
3. สำเนาทะเบียนรถหรือสัญญาซื้อขาย(กรณีรถไม่มีหมายเลขทะเบียน)
4. สำเนากรมธรรม์ (ตรวจสอบวันเริ่มใช้และสิ้นสุดด้วย)
5. รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีหรือรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ต้องมีรายละเอียด ดังนี้
5.1 ชื่อผู้ขับขี่และผู้โดยสาร สะกดถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน
5.2 ระบุสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถคว่ำ รถแฉลบ เป็นต้น
5.3 ระบุให้ชัดเจนผู้ป่วยอยู่ในรถคันหมายเลขทะเบียนใด เป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร
เอกสารประกอบการใช้สิทธิ์ พรบ.ของรถคู่กรณี (รถผู้ป่วยไม่มีประกันภัยหรือมีแต่ต้องการใช้รถคู่กรณีเพิ่ม)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วย
2. สำเนาทะเบียนรถหรือสัญญาซื้อขาย(กรณีรถไม่มีหมายเลขทะเบียน) ของฝ่ายผู้ป่วย
3. สำเนากรมธรรม์ที่หมดอายุของรถประกันภัยฝ่ายผู้ป่วย(ถ้าหามาได้)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบขับขี่(ถ้ามี)ของผู้ขับขี่ฝ่ายผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ขับขี่)
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบขับขี่(ถ้ามี) ของฝ่ายคู่กรณี
6. สำเนากรมธรรม์ (ตรวจสอบวันเริ่มใช้และสิ้นสุดด้วย) , สำเนาทะเบียนรถของรถคู่กรณี
7. รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีหรือรับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน ต้องมีรายละเอียด ดังนี้
7.1 ระบุชื่อ-สกุลผู้ป่วยถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-สกุลผู้ขับขี่ฝ่ายผู้ป่วยสะกดถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน(กรณีผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ขับขี่),เลขทะเบียนรถให้ถูกต้อง(ทั้งหมวดพยัญชนะและตัวเลข)
7.2 ระบุชื่อ-สกุลผู้ขับขี่คู่กรณีผู้ป่วยถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน เลขทะเบียนรถให้ถูกต้อง(ทั้งหมวดพยัญชนะและตัวเลข)
7.3 ระบุว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายประมาทมีเปรียบเทียบปรับเรียบร้อยแล้ว (ถ้าสามารถถ่ายใบเสร็จค่าปรับด้วยยิ่งดี ไม่มีไม่เป็นไร)
7.4 กรณีรถผู้ป่วยไม่มีประกันภัย ต้องปรับผู้ขับขี่ฝ่ายผู้ป่วยกรณีผู้ป่วยไม่ใช่ผู้ขับขี่ หรือผู้ป่วยในข้อหาขี่รถไม่มีประกันภัย หรือหากตำรวจไม่ปรับขอให้ระบุลงไปในบันทึกประจำวันว่าผู้ป่วยขับขี่หรือโดยสารรถที่ไม่มีประกันภัย (ถ้าสามารถถ่ายใบเสร็จค่าปรับด้วยยิ่งดี ไม่มีไม่เป็นไร)
หมายเหตุ ผู้ป่วยทุกรายที่มีสิทธิใบส่งตัวของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้ใช้สิทธิ พรบ.ก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินจึงจะสามารถใชสิทธิ์ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
เอกสารประกอบการเบิกจากกองทุนทดแทนฯ (ศาลากลางฯ) กรณีผู้ป่วยขับขี่หรือโดยสารรถที่ไม่ได้จัดทำประกันภัย
- รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี โดยให้ระบุ
1.1 ผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันใด เป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร
1.2 รถที่ผู้ประสบภัยขับขี่หรือโดยสาร ไม่ได้จัดทำประกันภัย โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเปรียบเทียบปรับในข้อหาไม่ทำประกันภัยจากเจ้าของรถ
1.3 หากผู้ประสบภัยไม่ใช้เจ้าของรถ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า เจ้าของรถไม่ยอมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลของผู้ประสบภัย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านผู้ป่วย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
- สำเนาทะเบียนรถ
เอกสารประกอบการเบิกจากกองทุนทดแทนฯ กรณีอื่น
1. เดินบนถนนถูกชนแล้วหนี 2. ขี่รถจักรยานสามล้อแรงคนถูกขนแล้วหนี 3. บาดเจ็ดจากรถของส่วนราชการ
1. รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี โดยระบุ
1.1 มีชื่อผู้ป่วยสะกดถูกต้องตามบัตรประจำตัวประชาชน
1.2 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ กรณีถูกชนแล้วหนีให้ระบุตัวผู้ป่วยถูกชนแล้วหนีและทำอะไรอยู่ เช่น เดินบนถนน เดินข้ามถนน หรือขี่รถจักรยาน เป็นต้น
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนผู้ป่วย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขับขี่ สำเนาใบขับขี่(ถ้ามี) (กรณีเป็นรถส่วนราชการและผู้ป่วยเป็นผู้โดยสาร)
4. สำเนาทะเบียนรถ(กรณีเป็นรถส่วนราชการ)
หมายเหตุ ผู้ป่วยทุกรายที่มีสิทธิใบส่งตัวของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้ใช้สิทธิ พรบ.ก่อน 30,000 บาท ส่วนเกินจึงจะสามารถใชสิทธิ์ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ ยกเว้น สิทธิประกันสังคมสามารถเลือกใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. หรือ สิทธิประกันสังคม ได้
|