1. ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขอนามัยพื้นฐานและทันตสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนตามความสามารถและทำงานร่วมกับชาวบ้านได้
3. นักศึกษาได้พัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะการให้ความรู้แก่ชุมชน
4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง และและสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากชมรมอื่นๆ เช่น ชมรมถ่ายภาพ ชมรมกีฬา ชมรมดนตรี เป็นต้น ร่วมทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อเป็นการบูรณาการกิจกรรม
6. เรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน
|
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจทางด้านสุขอนามัยพื้นฐานและทันตสุขภาพ
2. มีการพัฒนา ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อเอื้อต่อการดูแลรักษาสุขภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้การประชุมร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชาวบ้าน
3.นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
4.นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือกิจกรรมที่ตนเองถนัดให้กับเพื่อนในกลุ่มและสามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมในค่ายได้
4.นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบไหนที่เอื้อ/ ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
|
1. สอบถามชาวบ้านหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
2. สอบถามนักศึกษาถึงสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
3. ให้นักศึกษากรอกแบบสอบถามหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
4. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและชาวบ้านระหว่างร่วมกิจกรรม
|
1. ชาวบ้านได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
2. นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
4. นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
5. นักศึกษามีจิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์และรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่
6. นักศึกษามีทักษะในการให้ความรู้แก่ชุมชน
7. นักศึกษาจากชมรมต่างๆสามารถเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน
8. นักศึกษารับรู้ถึงการดำเนินชีวิตของชาวบ้านและสามารถรับทราบปัญหาสาธารณสุขและให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้
|