ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข ค่ะ   โครงการประชาสัมพันธ์ โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   หน้าแรก รู้จักโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข มีโครงการอะไรบ้าง ภาพกิจกรรมสร้างสุข Webmaster

   
   

   

   

 

ล็อกอิน 

Login :  
Password :  
   
 

 
 

มองผ่านเลนส์เห็นความสุข  
 
ชื่อโครงการ  มองผ่านเลนส์เห็นความสุขครั้งที่ 3 กิจกรรมที่ 3 “ ส่องนก ส่องฟ้า มองหาความสุข “
ผู้รับผิดชอบ  นทพ.จิราวรรณ แขกนวม   อ. ที่ปรึกษา    อ.ทพ.วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ
ที่ทำงาน  -
ช่วงเวลาดำเนินการ  15 สิงหาคม 2549 ถึง 15 มกราคม  2550
งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายฯ  25,100 บาท      
งบประมาณที่ได้รับสมท
จากแหล่งอื่น
20,000 บาท

 

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
         
     จากการที่ชมรมถ่ายภาพ สโมสรนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานในโครงการมองผ่านเลนส์เห็นความสุข ครั้งที่ 2 กิจกรรมตามรอยสืบ (นาคะเสถียร) ในปีการศึกษา 2548 ไปแล้วนั้น ในขั้นตอนการดำเนินงานได้มีการอบรมและให้ความรู้โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ คือ        นพ..รังสฤษฏ์  กาญจนะวนิชย์ นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตของคุณสืบ นาคะเสถียรแล้ว วิทยากรยังได้แนะนำ นก นานาพันธุ์และวิธีการดูนกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ซึ่งในการอบรมครั้งนั้นก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในการดูนกเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งเห็นได้จากพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้นในการซักถามเพื่อที่จะได้รู้จักนกพันธุ์ต่าง ๆ  รวมทั้งในระหว่างการเดินทางที่มีผู้สนใจเฝ้าสังเกตดูนกที่พบได้มากมายระหว่างทาง หลายคนแสดงความพึงพอใจที่ได้ชื่นชมนกในธรรมชาติโดยที่ปกติแล้วไม่คิดว่าจะมาสนใจเรื่องการดูนก นับได้ว่าเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของทางชมรมฯพอสมควร จนเกิดแนวคิดขึ้นมาว่าน่าจะลองจัดกิจกรรมการดูนกขึ้นในคณะทันตแพทยศาสตร์
   
   จากกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาเมื่อได้ลองฝึกหัดดูนกแล้วทำให้เข้าใจว่านกแต่ละตัว แต่ละพันธุ์ก็มีความน่าสนใจด้วยกันทั้งนั้น และการที่นกเหล่านั้นจะดำรงเผ่าพันธุ์ให้คนรุ่นหลังได้มาสัมผัสและรู้จัก   ก็ต้องทำให้สิ่งที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ของนกเหล่านั้นอยู่ในสภาพที่ดี ซึ่งสิ่งที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ของนกก็คือ “ธรรมชาติ”  การได้ไปเห็นและเรียนรู้นกนานาพันธุ์ก็เป็นการได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติอย่าใกล้ชิด ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ทั้งมนุษย์และธรรมชาติจะได้รับร่วมกัน นั่นก็คือ ธรรมชาติเสริมสร้างความสุขให้กับมนุษย์   มนุษย์เห็นคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ดี รัก และหวงแหนธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
 
   อีกสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากการดูนกคือ ทุกคนต้องมีความอดทนในการเฝ้ารอ ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและสร้างความสะดวกรวดเร็วในกับมนุษย์เป็นอย่างมากนั้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ส่งผลให้หลายคนติดนิสัย”ความเร็ว”จนเคยตัว ไม่สามารถอดทนรออะไรบางอย่างได้ เช่นไม่อยากรอคิว อยากได้อะไรต้องได้รับการตอบสนองเลย ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นผลมาจากการที่คนเหล่านั้นไม่ได้รับการฝึกในเรื่องความอดทนมามากพอ กิจกรรมการดูนกน่าจะเป็นทางหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการฝึกให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การ ” รอ”  
 
    การนำเสนอกิจกรรมดูนกในแหล่งธรรมชาติในครั้งนี้ นอกเหนือจากการที่จะสร้างความรักความหวงและห่วงใยธรรมชาติ ร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีให้คงอยู่ เพื่อการใช้ ประโยชน์ร่วมกันของทุกชีวิตบนผืนดินแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความละเอียดอ่อนต่อชีวิตทุกๆชีวิตบนผืนโลกอันจะส่งผลสะท้อนกลับมายังผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้มีความละเอียดอ่อนต่อชีวิตตนเองและคนรอบข้าง อันจะทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกิดสังคมที่น่าอยู่
 
     นกในเมืองไทยนั้นมีมากมายหลายพันธุ์ และบางพันธุ์นั้นบางคนก็ยังไม่เคยได้ยินแม้แต่ชื่อ และนกบางพันธุ์ก็จะสามารถพบได้เฉพาะบางถิ่นเท่านั้น   ดังนั้นในการจัดกิจกรรมนี้จึงมุ่งหวังที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักและได้เห็นนกนานาพันธุ์ โดยการเดินทางไปดูนกตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีนกพันธุ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้
    แม่เหี๊ยะ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้วิธีการดูนก   เพราะจะมีนกที่หาดูได้ง่าย เช่น นกทุ่งและนกอื่น ๆ   ซึ่งจะทำให้การฝึกดูนกในขั้นแรกผ่านไปได้อย่างไม่ยากลำบากนัก และเพิ่มทักษะการดูนกให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี  
    ดอยอินทนนท์   ซึงจะสามารถพบนกพันธุ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ซึ่งดอยอินทนนท์ยังจัดเป็นสถานที่ที่มีพันธุ์นกหลากหลายมากเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นนกหลากหลายพันธุ์   ได้รู้จักนกพันธุ์ต่าง ๆ เพื่มมากขึ้น ได้เห็นความหลากหลายของระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมกับนกแต่ละพันธุ์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น
    ดอยลังกา ซึ่งจะสามารถพบนกพันธุ์ต่าง ๆ ดังนี้     นกแซงแซวสีเทา เหยี่ยวรุ้ง เหยี่ยวนกเขาซิครา นกจับแมลงหัวเทา นกตีทอง นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า บนดอยลังกานั้นนอกจากจะพบนกพันธุ์ดังกล่าวแล้วยังสามารถศึกษาพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่ ซึ่งจะพบได้ทั้ง ป่าไผ่      ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบและป่าสน และสัตว์ป่าที่อาจจะพบได้ เช่น ชะมด หมูป่า เก้ง เม่น กระรอกหลายชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่บนต้นไม้และพื้นดิน ค้างคาว กระต่ายป่า   หมี ลิงลม ชะนีธรรมดา แมวป่า เลียงผา ซึ่งการเดินทางเพื่อดูนก ณ ดอยลังกานี้จะเป็นการเดินทางด้วยเท้าเพื่อจะได้ใกล้ชิดและสัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความสุขจากธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
 
    ในการจัดกิจกรรมของโครงการ “มองผ่านเลนส์เห็นความสุข”   ซึ่งจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ที่ดำเนินงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลเป็นส่วนใหญ่ในทุก ๆ ปีเนื่องจากทางชมรมต้องการเปิดโอกาสให้มีคณะทำงานชุดใหม่ ๆ เข้ามาดำเนินงาน ดังนั้นคณะทำงานชุดเก่าก็จะคอยให้คำแนะนำในการทำงานและให้คณะทำงานชุดใหม่มีโอกาสทำงานได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้มีรูปแบบของการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้น และกลุ่มบุคคลที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นบุคคลกลุ่มใหม่ เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่เรียกร้องให้มีการจัดกิจกรรมในแต่ละปีนั้นเป็นกลุ่มบุคคลที่พลาดการเช้าร่วมกิจกรรมในปีนั้น ๆ (เนื่องจากข้อจำกัดในด้านเวลา งบประมาณ และอื่น ๆ ) ซึ่งเมื่อมีการจัดกิจกรรมขึ้นในปีต่อมาบุคคลเหล่านั้นก็ได้มีโอกาสเข้าร่วม และยังมีผู้เข้าร่วมกลุ่มใหม่ ๆ ซึ่งเห็นความสำคัญของโครงการนี้ ทำให้โครงการสามารถเผยแพร่ไปสู่กลุ่มบุคคลในวงกว้างมากขึ้น
  
    เนื่องจากกิจกรรมดูนกในครั้งนี้อาจจะมีส่วนช่วยในการฝึกให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การ ” รอ”   ดังนั้นทางชมรมจึงได้ตั้งกลุ่มเป้าหมายของผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มที่ไม่มีความอดทนในการ” รอ” ซึ่งจะพิจารณาได้จากพฤติกรรมที่คณะทำงานสามารถสังเกตเห็นได้ในแต่ละบุคคล รวมทั้งการใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งการที่ทางชมรมได้ตั้งกลุ่มเป็นหมายที่เฉพาะเจาะจงนั้นก็เพื่อให้ผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ได้รับประโยชน์ในการได้เข้าร่วมสูงสุด ซึ่งอาจจะส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจ ได้เรียนรู้ และเห็นความสำคัญของการ” รอ”และการอดทนมากขึ้น  
 
    ที่สำคัญวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ยังเน้นให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติ ซึ่งจากกิจกรรมที่ผ่านมาทำให้เห็นได้ว่ามีผู้ที่เห็นความสำคัญของธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมาก่อนที่จะได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติและหลังจากได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติแล้ว ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นกลุ่มที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนั้นเป็นครั้งแรก ทำให้คณะผู้ทำงานเห็นว่าการทำให้คนเห็นความสำคัญของธรรมชาตินั้นสามารถทำได้จากการที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้มาลองสัมผัสกับธรรมชาติอย่างจริงจัง   และได้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในธรรมชาติ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์มาสู่ตัวมนุษย์ได้

 
กลยุทย์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ (เช่น การสร้างองค์ความรู้ การสร้างกระแส การสั่งการ ฯลฯ)
1. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เช่น การให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ
2. การสร้างกระแสสังคม เช่น การกระตุ้นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายผ่านสื่อหลายระดับ
3. สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
4. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ แนวคิดในการสร้างเสริมสุขภาพ
5. การขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่าย พันธมิตร
 
 
วัตถุประสงค์ของโครงการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมินผล (แยกตามวัตถุประสงค์)
1. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 
 
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูนกและได้รู้จักนกนานาชนิดเพิ่มขึ้น      
     


3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติเพิ่มขึ้น    
            
4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถถ่ายทอดความสุขที่ตนได้รับออกมาเป็นภาพถ่ายได้

 

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุขกับกิจกรรมที่ได้ทำ 
 
1.   ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูนกและรู้จักนกชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
2.   การนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตจริงได้ภายหลังการทำกิจกรรมนี้
 
1.   ความเข้าใจและการแสดงออกต่อธรรมชาติทั้งในระหว่างและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม                                                               
1.   ภาพถ่ายที่ทำให้ผู้ที่ได้ชมภาพนั้นมีความสุข

 

1. ประเมินจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์

1. ประเมินจากแบบสอบถามการสังเกตและการสัมภาษณ์  
2. ประเมินจากการสังเกต


1. ประเมินจากการสังเกต


1. ประเมินจากแบบสอบถาม

 

 
 
 ผลที่คาดว่าจะได้รับ / ความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการ
1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นความสำคัญของธรรมชาติและตระหนักถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการช่วยเหลือจากธรรมชาติในการเสริมสร้างสุขภาพของตน
3. ธรรมชาติได้รับการดูแลและเอาใจใส่เพิ่มขึ้น (อย่างน้อยจากผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม)
 
 
 
 
ข่าวประชาสัมพันธ์มองผ่านเลนส์เห็นความสุข  
 
ยังไม่มีข่าวประชาสัมพันธ์
 

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด

 
 
บันทึกความทรงจำมองผ่านเลนส์เห็นความสุข  
 
ยังไม่มีบันทึกความทรงจำ
 

บันทึกความทรงจำทั้งหมด

 
 
ภาพกิจกรรมมองผ่านเลนส์เห็นความสุข  
 
ยังไม่มี ภาพกิจกรรม
 

ภาพกิจกรรมทั้งหมด

 
 

โรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข สำนักงานคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้น 2 อาคาร 7 โทร 053-944440-1